วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Writing



        หลังจากการคิด การพูด บทความนี้ผู้เขียนขอเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการเขียนบ้างค่ะ  อย่างที่รู้กันนะคะทักษะพื้นฐานในการเรียนและใช้ภาษาก็คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนนั่นแหละค่ะ

        พอเข้าเรื่องของทักษะการเขียนแล้วนั้น หลายคนก็คงคิดได้ไม่พ้นพวกหลักไวยากรณ์และโครงสร้างต่าง ๆ อย่างแน่นอน  ซึ่งก็ถูกค่ะงานเขียนส่วนมากมักจะบ่งบอกถึงความเป็นทางการและเป็นภาษาที่ค่อนข้างจะสละสลวยสวยงามกว่าภาษาพูดทั่วไป  และเพราะความเป็นทางการนี้นี่แหละค่ะที่ทำให้ใครหลายคนคิดว่าทักษะการเขียนเป็นทักษะที่ยากที่สุด
        สำหรับผู้เขียนก็คิดว่ายากเช่นกันค่ะ  แต่คงไม่เหนือความพยายามของเราที่พร้อมจะเรียนรู้อย่างแน่นอน ดังนั้นผู้เขียนเลยมีข้อคิดเห็นเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผู้เขียนได้สังเกตและศึกษามาด้วยตนเอง ดังนี้ค่ะ

        1.เรากลัวว่าจะเขียนผิด
        เรื่องนี้ค่อนข้างจะกระทบอารมณ์ความรู้สึกอยู่หน่อย ๆ ก็คือเราถูกปลูกฝังมาว่า หลักการเขียนมันตายตัวมันถูกตั้งเกณฑ์มาแบบนั้นและมันจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้  ซึ่งสำหรับผู้เขียนผู้เขียนคิดว่าก็ไม่ถูกทั้งหมดค่ะ หลักการเขียนหลายอย่างที่ผู้เขียนได้ศึกษามาก็พบว่ามันมักจะมีข้อยกเว้นในหลาย ๆ เรื่องอยู่บ่อย ๆ ค่ะ  ซึ่งนั่นก็เป็นผลมาจากการยืดหยุ่นในภาษา หรือแม้กระทั่งการวิบัติของภาษาไปตามเวลาด้วย
        แต่เพราะมันค่อนข้างตายตัวนี่แหละค่ะที่ทำให้เราเห็นข้อผิดพลาดได้ง่าย  แต่ตามระบบการศึกษาของไทยมักมองว่าความผิดพลาดนั้นหรือความไม่รู้นั้นมันผิด  บางครั้งก็ไม่แปลกที่จะตัดสินอย่างนั้นซักเท่าไหร่เพราะก่อนที่เราจะสอบเราก็ต้องเรียนรู้มาแล้วใช่ไหมคะถึงจะมาขั้นทดสอบได้  แต่มีอีกอย่างที่ทำให้ใครหลายคนขยาดภาษาอังกฤษเพราะหลักการเขียนอยู่ก็คือ การที่ผิดแล้วไม่มีใครไขข้อข้องใจนั้นให้ค่ะ เราอาจผิดพลาดซึ่งนั่นจะทำให้เราตระหนักและระมัดระวังมากขึ้น  แต่ถ้าเกิดเราไม่รู้หรือไม่เข้าใจขึ้นมาน่าจะเป็นปัญหาใหญ่เลยค่ะ พอไม่เข้าใจก็ไม่รู้เรื่องจนสุดท้ายก็อาจจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่เข้าใกล้ไปเลย  เพราะกลัวถูกตัดสินว่าผิดไปได้ค่ะ
        ส่วนอีกข้อขอยกไปอีกบทความนะคะเพราะเนื้อหาอาจจะเยอะเกินจนอาจตาลายได้ค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น