วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เคล็ดลับฝึกฟังภาษาอังกฤษยังไงให้เข้าหู

วิธีฝึกทักษะด้านการฟังง่ายๆ ที่ใครๆ ก็สามารถทำเองได้ที่บ้าน ถ้าคุณสามารถอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี แต่มักจะตกม้าตายทุกทีเวลาต้องฟังคนอื่นพูดภาษาอังกฤษ

https://sites.google.com/site/thaksakarfangngngngng/_/rsrc/1466494465028/hnwy-thi1-kheld-lab-fuk-fang-phasa-xangkvs-yang-ngi-hi-kheahu/2_0%20(1).jpg?height=250&width=400

เคล็ดลับฝึกฟังภาษาอังกฤษยังไงให้เข้าหู

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ละก็ อย่าเพิ่งท้อใจนะคะ ขอให้รู้ไว้ว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาของการเรียนภาษา ไม่ว่าจะภาษาใดๆ บนโลกใบนี้ เพราะเมื่อภาษาแปลงร่างจากการเขียนเป็นการพูด จะมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียงของผู้พูดแต่ละคนที่มีเป็นร้อยเป็นพันแบบ การรวบคำให้กระชับ ประโยคแสลง และอีกสารพัดปัจจัยที่ทำให้การฟังยุ่งยาก แต่เรื่องแบบนี้สามารถฝึกฝนกันได้ด้วยเคล็ดลับดีๆ ต่อไปนี้ค่า
ก่อนอื่นขอให้จำไว้เลยว่าต้อง 'ฝึกฟังจากเรื่องง่ายไปหายาก' ช่วงแรกของการฝึกถ้าเราไปฟังข่าวยากๆ ยาวๆ ที่มีศัพท์แปลกๆ ไม่คุ้นหูอยู่เพียบ แล้วเกิดฟังไม่เข้าใจขึ้นมา อาจทำให้เกิดอารมณ์สิ้นหวังได้ค่ะ ดังนั้นเราจึงควรเริ่มจากฟังอะไรสั้นๆ ง่ายๆ ที่เขาพูดช้าๆ ให้เข้าใจเสียก่อน เน้นฟังสำเนียงที่ถูกต้อง ฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไปนะคะ


ขั้นตอนในการฝึกฝน

1. ฟังรอบแรกรวดเดียวจบ โดยไม่ดูบทความที่แนบมากับคลิปเสียง สูดหายใจลึกๆ หามุมที่นั่งสบายๆ ผ่อนคลาย ไม่ต้องกังวลว่าจะฟังไม่รู้เรื่อง
2. ฟังซ้ำอีกครั้งเพื่อเก็บรายละเอียดเพิ่มเติม
3. ฟังและหยุดคลิปทุกๆ 5 วินาที ขณะที่หยุดนั้นให้เขียนคำหรือวลีอะไรก็ได้ที่คุณได้ยินออกมาให้ได้มากที่สุด เมื่อฟังจบทั้งคลิปแล้ว ลองอ่านโน้ตย่อๆ ของเราดูว่า เราพอจะจับคอนเซ็ปต์ได้หรือไม่ว่าในคลิปกำลังพูดถึงเรื่องอะไร การฝึกในเบื้องต้นเราไม่จำเป็นต้องเข้าใจทุกคำพูดค่ะ แค่พอเข้าใจคร่าวๆ ก็ถือว่าโอเคแล้ว
4. ทำซ้ำแบบเดิมกับข้อ 3. แต่พยายามเติมคำศัพท์ลงไปให้มากขึ้น และแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ จากการเขียนครั้งแรก
5. เขียนเรียบเรียงข้อมูลให้เป็นประโยค ลองใช้ความรู้ด้านไวยากรณ์ปะติดปะต่อคำและวลีต่างๆ เข้าด้วยกัน
6. เก็บโน้ตย่อชิ้นแรกออกไป เริ่มฟังคลิปอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ให้หยุดคลิปทุกๆ 10 วินาที แล้วเขียนสิ่งที่ได้ยินออกมาเหมือนเดิม จากนั้นลองนำมาเปรียบกับโน้ตย่อชิ้นเก่าดูค่ะ   
7. ฟังคลิปเสียงอีกครั้ง โดยอ่านโน้ตย่อของตัวเองตามไปด้วย
8. เปรียบเทียบโน้ตย่อกับบทความจริงที่ถูกต้อง ถ้าพบว่ามีคำผิดเยอะ ต้องลองวิเคราะห์ดูค่ะว่าปัญหาในการฟังของคุณเกิดจากอะไร บางคนอาจจะฟังไม่รู้เรื่อง เพราะออกเสียงไม่ถูกต้อง ไม่รู้จักคำศัพท์ หรือมีปัญหากับเสียงหนัก เสียงเบา การเชื่อมคำ การรวบประโยค ก็ต้องลองแก้ปัญหาเป็นจุดๆ ไป
9. ฟังคลิปอีกครั้งไปพร้อมๆ กับการอ่านบทความที่ถูกต้อง เพื่อเช็คว่าตรงส่วนไหนบ้างที่คุณพลาดไป จากนั้นลองกลับฟังรอบสุดท้ายแบบไม่อ่านโน้ตและบทความเลย ซึ่งพอถึงขั้นตอนนี้คุณควรจะเข้าใจเรื่องราวในนั้นมากยิ่งขึ้นแล้วนะคะ
ส่วนในการเลือกคลิปเสียง ถ้าเป็นเรื่องที่เราสนใจจะยิ่งกระตุ้นให้เราอยากฝึกฝนมากยิ่งขึ้นค่ะ

ลองฝึกพูดประโยคที่สามารถใช้ได้บ่อยๆในชีวิตประจำวัน


ทักษะการฟังไม่สามารถพัฒนาขึ้นในชั่วข้ามคืน ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนทำซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ฟังครั้งนึงไม่กี่นาทีแต่เน้นฝึกบ่อยๆ จะได้ผลดีกว่าการฟังครั้งนึงเป็นชั่วโมงแต่ฝึกแค่สัปดาห์ละครั้งนะคะ
ถ้าใครรู้สึกว่าสกิลเริ่มพัฒนาขึ้นแล้ว ระหว่างฟังจะฝึกพูดไปด้วยก็ได้ค่ะ การพูดตามจะทำให้เราโฟกัสกับสิ่งที่ฟังมากขึ้น และเป็นการรีเช็คให้มั่นใจว่าสิ่งที่ได้ยินนั้นถูกต้องมากยิ่งขึ้นด้วย

แนะนำ 10 วิธีสุดเจ๋ง เรียนภาษาอังกฤษให้เก่งได้ด้วยตัวเอง



    ปัจจุบันนี้ ภาษาอังกฤษ เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นการที่เราสามารถสื่อสารภาษาอักฤษได้ ย่อมทำให้ได้เปรียบคนอื่นๆ วันนี้เราจึงมีข้อมูลมาแนะนำกับ 10 วิธีการฝึกภาษาอังกฤษด้วยตนเอง ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะยากเกินไปสำหรับใครไม่รู้จะฝึก เรียนภาษาอังกฤษ อย่างไร ให้เข้าใจ
1. ตามอ่านอะไรที่เราสนใจ
ตอนเด็กๆหลายคนอาจจะไม่ชอบภาษาอังกฤษ เพราะโดนครูบังคับให้อ่านเรื่องอะไรก็ไม่รู้ แต่ลองเริ่มอ่านเรื่องที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน กีฬา ดนตรี ข่าวซุบซิบดาราฝรั่ง หรือมุมขำๆในหนังสือพิมพ์ จำไว้เลยว่าไม่มีอะไรไร้สาระ เพราะเรากำลังเรียนรู้อยู่
2. ฟังวิทยุให้ชิน
การฟังวิทยุนั้นจะช่วยให้เราได้ฟังทั้งเสียงคนพูด รวมถึงเสียงร้องเพลง เป็นการฝึกหูในชินกับภาษาในหลายๆรูปแบบอีกวิธีหนึ่งด้วย
3. ไม่จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาไทย
การฝึกภาษาอังกฤษให้เข้าใจนั้น ไม่จำเป็นที่เราต้องอ่านหรือฟังแล้วแปลเป็นภาษาไทย อาจจะสงสัยว่าไม่แปลเป็นไทยแล้วจะเข้ะาใจยังไง การไม่พยายามแปลเป็นไทยจะช่วยให้เราสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วขึ้นด้วย


4. แปะกระดาษโน้ตบนสิ่งของต่างๆ
วิธีนี้จะเหมือนการเอาข้าศึกมาล้อมเมือง การแปะชื่อสิ่งของต่างๆที่เราใช้เป็นภาษาอังกฤษ ช่วยทำให้ชีวิตได้คุ้นเคยกับคำเหล่านี้มากขึ้น และเป็นการฝึกอ่านฝึกความเข้าใจไปในตัวด้วย
5. ดูทีวีและภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ
การดูภาพ ฟังเสียง และอ่านซับไตเติ้ลภาษาไทยไปพร้อมๆกัน ช่วยฝึกประสาทการรับรู้ในหลายๆช่องทาง ซึ่งต่อไปก็สามารถเปลี่ยนจากซับไทย เป็นซับอังกฤษ ไปจนถึงขั้นปิดซับได้ในท้ายที่สุด
6. เล่นเกมที่ใช้คำภาษาอังกฤษบ่อยๆ
สมัยนี้มีเทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟน เราจึงสามารถหาแอพพลิเคชั่นเกมภาษาอังกฤษ เช่น Crosswords มาเล่นแก้เบื่อในยามว่างได้ ทีนี้ก็ลองเปลี่ยนจากแชทไลน์มาเป็นเล่นเกมแนวนี้แทน จะช่วยพัฒนาได้อีกทาง
7. ใช้คำต่างๆเป็นภาษาอังกฤษมากขึ้น
วิธีนี้หลายคนอาจจะมองดูว่ากระแดะหรือเปล่าจริงๆแล้วเป็นเพียงการใช้คำให้ถูกกับภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยพยายามพูดอังกฤษบ่อยๆในศัพท์ที่ใช้ได้ เช่นเปลี่ยนคำว่ามือถือ เป็น Smart Phone เปลี่ยนคำว่า นาฬิกาปลุก เป็น Alarm เป็นต้น
8. ทำลิสต์ต่างๆให้เป็นภาษาอังกฤษ
ขั้นตอนนี้อาจจะลำบากในตอนแรก แต่ถ้าเราลองลิสต์ต่างๆให้เป็นอังกฤษจะช่วยเราให้คุ้นเคยได้มากขึ้น อย่างเช่น ลิสต์กิจกรรมที่ต้องทำพรุ่งนี้ ลิสต์ตารางไปเที่ยวพักผ่อน หรือลิสต์ของที่ต้องซื้อเข้าบ้าน ให้เป็นภาษาอังกฤษซะ
9. ลงทุนซื้อ Dictionary ดีๆสักเล่ม
นี่คือการลงทุนที่คุ้มค่า แม้จะมีราคาค่อนข้างแพงไปบ้าง แต่ก็ช่วยให้เราสามารถเข้าใจและพัฒนาภาษาไปได้ดีกว่า (สำหรับคนทุนน้อยจริงๆ ข้อนี้อาจจะข้ามไปได้บ้าง)
10. เราชอบอะไร ทำสิ่งนั้นเป็นภาษาอังกฤษ
ความชอบ ความรัก มันทำให้เราสามารถทำอะไรก็ได้อย่างมีความสุขและไม่น่าเบื่อ ถ้าชอบทำอาหาร ก็เปลี่ยนเมนูอาหารเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าชอบเล่นกีฬาหรือดนตรี ก็ดาวน์โหลดวิดีโอการฝึกซ้อมแบบภาษาอังกฤษมาดู ถ้าชอบเล่นเกมก็ฝึกอ่านคู่มือเกมภาษาอังกฤษ เราก็จะหลงรักมันโดยไม่รู้ตัวเลยล่ะ
เทคนิคการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. จำศัพท์เป็นกลุ่ม: วิธีที่จะจำศัพท์ได้ง่าย คุณควรจะต้องจำเป็นกลุ่มคำที่มีความหมายเหมือนกัน และกลุ่มคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกัน
2. จำศัพท์และวาดภาพคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกัน: ถ้าคุณสามารถวาดภาพของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกัน ออกมาเป็นแผนผังหรือจัดหมวดหมู่ ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างศัพท์เหล่านั้น แล้วเขียนออกมาเป็นแผนผัง จะทำให้คุณจำคำศัพท์ได้ง่ายขึ้น
3. ใช้อุปกรณ์ช่วย : คุณอาจทำบัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษ พร้อมความหมาย และตัวอย่างประโยค แล้วนำมาเปิดอ่านหรือท่องในยามว่าง และเพิ่มคำศัพท์เหล่านั้นทุกสัปดาห์ คุณก็จะมีสต๊อคคำศัพท์ที่สามารถนำมาใช้ได้ทันที
4. สร้างจุดเด่นของลักษณะคำศัพท์กลุ่มนั้น : เช่น เมื่อกำหนดกลุ่มคำศัพท์ได้แล้วว่ากลุ่มที่หนึ่งคือกลุ่มคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน คุณก็กำหนดให้กลุ่มนั้นเป็นสีฟ้า (คำศัพท์เหล่านั้นก็จะใช้ปากกาเน้นข้อความสีฟ้า เน้นทับไปที่กลุ่มคำเหล่านั้น)กลุ่มที่สองคือกลุ่มคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องอวัยวะหรือส่วนต่างๆในร่างกาย คุณก็กำหนดให้กลุ่มนั้นมีสีเหลือง (คำศัพท์เหล่านั้นก็จะใช้ปากกาเน้นข้อความสีเหลือง เน้นทับไปที่กลุ่มคำเหล่านั้น) เป็นต้น ซึ่งสีที่แตกต่างกัน จะทำให้จำคำศัพท์เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น
5. ตั้งเป้าหมายอย่างง่ายๆแต่ทำอย่างสม่ำเสมอ : คือการตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเปิดคำศัพท์เหล่านั้นทบทวนสัปดาห์ละ 3 ครั้ง และตั้งเป้าว่าจะเพิ่มคำศัพท์ 15-20 คำศัพท์ต่อสัปดาห์ อย่างสม่ำเสมอ
ข้อสำคัญคือ ต้องจำคำศัพท์พร้อมกับประโยคที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น คำศัพท์เดิมต้องรักษาไว้ อย่าให้ลืม และต้องเพิ่มคำศัพท์ให้ได้อย่างสม่ำเสมอ ลองดูนะคะ แล้วคุณจะพบว่าคุณสามารถพัฒนาการจำคำศัพท์ได้เพิ่มขึ้น และแม่นยำขึ้น 

เคล็ดลับ 7 ข้อในการฝึกภาษาอังกฤษผ่านเพลง



เคล็ดลับ 7 ข้อในการฝึกภาษาอังกฤษผ่านเพลง

เคล็ดลับ 7 ข้อในการฝึกภาษาอังกฤษผ่านเพลง

เมื่อพูดถึงการฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง การฝึกด้วยเพลงคือหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากเป็นอันดับต้นๆ เพราะนอกจากจะได้ฝึกฟังสำนวนภาษาและเรียนรู้วิธีออกเสียงแล้ว เพลงยังทำให้รู้สึกเพลิดเพลินและโฟกัสกับการเรียนรู้ได้นานขึ้นด้วย สำหรับคนที่กำลังเริ่มต้นฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง เรามีเคล็ดลับดีๆ ในการฝึกภาษาผ่านเพลงมาฝากกันค่ะ

1. รู้จักแหล่งหาเพลงดีๆ

·         แน่นอนว่าทุกคนต้องรู้จักเว็บแชร์วิดีโอชื่อดังอย่าง YouTube and Vimeo แค่สองเว็บนี้ก็มีเพลงดีๆ ให้เลือกฟังอย่างไม่หวาดไม่ไหว แนะนำว่าสำหรับคนที่ยังฟังไม่คล่องนัก ลองเสิร์จชื่อเพลงโดยใส่คีย์เวิร์ดอย่าง subtitle หรือ lyrics ต่อท้าย การมีเนื้อเพลงให้ร้องตามไปทีละท่อนจะช่วยให้การหัดฟังเพลงภาษาอังกฤษง่ายขึ้นค่ะ
·         หากอยากฟังเพลงแบบสนุกขึ้น ขอแนะนำให้รู้จักกับ Spotify โปรแกรมฟังเพลงออนไลน์กึ่งโซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่เราสามารถเข้าไปส่อง Playlist ที่เพื่อนๆ ฟังได้ เผื่อจะมีเพลงอะไรน่าสนใจ แถมยังมีฟังก์ชั่นแรนดอมเพลงใหม่ๆ มาให้เราลองฟัง โดยการใส่เพลงที่ชอบลงไป แล้วโปรแกรมก็จะเลือกเพลงแนวเดียวกับเพลงนั้นมาให้
·         อีกเว็บหนึ่งที่อยากแนะนำคือ FluentU เว็บที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการเรียนภาษาผ่านวิดีโอหรือเพลงโดยเฉพาะ ลองเข้าไปดูวิดีโอแนะนำการใช้งานดูได้ค่ะ

 

2. เลือกเพลงให้เหมาะสม

·         เลือกเพลงที่ชอบ จะทำให้เราจดจ่ออยู่กับการฝึกได้นานขึ้น
·         เลือกเพลงที่ภาษาไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป เนื้อเพลงเป็นคำแมสๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
·         ระวังการออกเสียงที่ไม่ชัดเจนของนักร้องด้วย อย่างพวกเพลงร็อคเมทัล อาจจะไม่ค่อยเหมาะในการนำมาใช้ฝึกภาษาสักเท่าไหร่
·         ควรเลือกเพลงที่บอกเล่าเรื่องราวพอให้นึกภาพตามได้ หากเริ่มฝึกแบบมีพื้นฐานน้อยมาก อาจลองเริ่มจากเพลงสำหรับเด็กหรือเพลงการ์ตูนดิสนี่ย์ก่อน
·         ควรเริ่มฝึกจากเพลงป็อป เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเพลงเกี่ยวกับความรัก ความโรแมนติก ใช้คำศัพท์ง่ายๆ ซ้ำๆ จากนั้นเมื่อชำนาญมากขึ้น จึงค่อยแตกสาขาไปฝึกจากเพลงประเภทอื่นๆ ที่กว้างขึ้น

 

3. ฝึกอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

การอ่านเนื้อเพลงตามไปด้วย จะทำให้เข้าใจความหมายของเพลงและจดจำศัพท์ได้ดียิ่งขึ้น แต่การฟังครั้งแรกๆ ควรลองฟังแบบไม่ดูเนื้อเพลงก่อน แล้วพยายามเขียนคำศัพท์หรือประโยคเท่าที่พอจับใจความได้ออกมาให้ได้มากที่สุด จากนั้นจึงค่อยฟังซ้ำโดยเปิดเนื้อเพลงตามไปด้วย

 

4. ร้องตามอย่างเต็มเสียง

ขั้นตอนนี้ถ้าไม่มั่นในเสียงตัวเอง แนะนำให้ฝึกร้องเวลาอยู่ในห้องคนเดียวจะดีที่สุด จะได้ไม่รบกวนคนรอบข้างด้วยค่ะ เวลาร้องตามขอให้ร้องอย่างเต็มเสียง และขยับปากอย่างเต็มที่เพื่อเป็นการฝึกกล้ามเนื้อริมฝีปาก เพราะภาษาอังกฤษมีการใช้กล้ามเนื้อริมฝีปากมากกว่าภาษาไทย ฝึกบ่อยๆ จะทำให้สำเนียงเราใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากขึ้นค่ะ

 

5. พยายามร้องเพลงจากความจำ

ขั้นนี้เหมาะสำหรับคนที่ฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเองมาได้สักระยะจนชำนาญประมาณหนึ่ง เริ่มจดจำเนื้อร้องของบางเพลงได้บ้างแล้ว ว่างๆ ก็ลองหัดฮัมเพลงเป็นภาษาอังกฤษแบบไม่ดูเนื้อร้องดูนะคะ จะช่วยให้เราคุ้นชินกับการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันมากขึ้น

 

6. ฟังเพลงสลับไปสลับมา

จากขั้นตอนที่แนะนำมาทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องเลือกเพลงมาหนึ่งเพลงแล้วโฟกัสในการฝึกเพลงนั้นซ้ำๆ อยู่แค่เพลงเดียว ในรอบแรกคุณอาจจะฟังแบบผ่านๆ แล้วดูเนื้อตามไปหลายๆ เพลงก่อน จากนั้นจึงค่อยกลับมาฟังเพลงแรกแล้วทบทวนคำศัพท์ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

 

7. ค้นหาเพลงใหม่ที่ระดับยากขึ้น

เพื่อการฝึกฝนที่มีประสิทธิภาพ ควรท้าทายตัวเองด้วยการเลือกเพลงที่ระดับยากขึ้น ซึ่งจะทำให้สำนวนและคลังคำศัพท์ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย ถ้าไม่รู้ว่าจะเลือกเพลงตามลำดับความยากง่ายยังไงดี FluentU สามารถช่วยได้ค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

My Favorite Show



        หลังจากไปทัวร์เพลงมาหลายเพลงแล้วบทความนี้ข้อนำเสนอรายการที่น่าสนใจที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้ค่ะ
        รายการแรกคือ Loukgolf's English Room ค่ะ เชื่อว่าหลายคนคงรู้ลักพี่ลูกกอล์ฟหรือครูลูกกอล์ฟกันมาบ้างแล้วนะคะ  รายการนี้ก็เป็นอีกรายการที่มีความน่าสนใจอย่างมากเลยค่ะ นอกจากแขกรับเชิญที่มาในรายการแล้วเรายังได้เรียนคำศัพท์หรือประโยคสนทนาต่าง ๆ ที่เราสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ด้วยนะคะ
        และมีวิดีโอหนึ่งค่ะที่ผู้เขียนอยากนำเสนอเป็นพิเศษคือวิดีโอที่คุณต้นหอม ศกุนตลา เทียนไพโรจน์ หรือที่รู้จักว่า ดีเจต้นหอม  เป็นการนำเสนอให้รู้ว่าภาษาอังกฤษสามารถเรียนรู้อย่างสนุกสนานได้ และเราก็สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาค่ะและคุณต้นหอมก็เป็นอีกตัวอย่างที่พร้อมจะเปิดใจเรียนรู้อยู่เสมอค่ะ


วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Find Some Inspiration 2



        จากบทความก่อนหน้าที่มีการนำเสนอจุดเล็กจุดน้อยที่ได้จากเพลงกัน  บทความนี้ก็ขอสืบเนื่องมาอีกซักบทความละกันนะคะ

        ในบทความนี้ขอเสนอเพลง  One Thing ของ One Direction

 
        ในเนื้อเพลงนี้จะมีท่อนที่ว่า
‘Cause you make my heart race
Shot me out of the sky
You’re my kryptonite
You keep making me weak
Yeah, frozen and can’t breathe.

        ซึ่งความหมายของเพลงโดยรวมเนี่ยประมาณว่าเป็นการจีบผู้หญิงหรือจีบสาวทั่วไปนั่นแหละค่ะ  เป็นการบอกว่าผู้หญิงคนนั้นที่ต้องการจีบเนี่ยมีอิทธิพลต่อตัวเองอย่างไร  แต่คำที่ขีดเส้นใต้นั้นก็สามารถอธิบายได้ด้วยวิดีโอคลิปต่อไปนี้ค่ะ  บอกก่อนนะคะว่าไม่ได้มีการโฆษณาให้กับผู้เกี่ยวข้องแต่อย่างใดนะคะ เพียงแต่ชอบมุมมองและการนำเสนอความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นค่ะ
       
เป็นช่วง  13:09 – 17:03  ค่ะ


        เป็นที่สังเกตอีกอย่างนะคะว่าการเรียนภาษาอังกฤษของเราสามารถทำให้เรามีความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น  และยังทำให้เราสามารถศึกษาเพิ่มเติมไดจากการสังเกตและการสงสัยได้ค่ะ  ดังนั้นผู้เขียนขอเสนออีกอย่างนะคะว่าหากผุ้อ่านมีความสงสัยใคร่รู้ให้ลองสังเกตด้วยตัวเองดูค่ะแล้วเลือกหาเพิ่มเติมเพื่อไขข้อสงสัยให้ตัวเอง  จะทำให้สิ่งที่เรารู้มีเพิ่มมากขึ้นค่ะ
        ถ้าผู้อ่านสนใจเพิ่มเติมสามารถศึกษาเนื้อเพลงได้ด้วยตนเองเลยค่ะ  หรือแม้กระทั่งเกี่ยวกับเรื่องจุดอ่อนของซุปเปอร์แมนได้ค่ะ

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Find Some Inspirations



        หลังจากบทความที่แล้วมีการทิ้งท้ายด้วยบทเพลง If I Die Young ไป บทความนี้ผู้เขียนเลยอยากจะนำเสนอบทเพลงอื่น ๆ บ้างค่ะ  เพื่อบอกว่าเราสามารถเรียนรู้ภาษาได้ตลอดเวลาไม่จำเป็นว่าต้องอยู่ในเวลาเรียนหรือแค่ในห้องเรียนเท่านั้นค่ะ

        แต่ว่าถ้ามาเรียนรู้ภาษาจากเพลงแล้วจะได้อะไร

        การเรียนรู้จากบทเพลงหรือสื่อมีเดียต่าง ๆ จะมีข้อดีอยู่อย่างคือเราเลือกในสิ่งที่เราสนใจที่จะรู้ค่ะ  บางครั้งความรู้นั้น ๆ อาจจะเป็นของแถมมาด้วยซ้ำ  แต่ผู้เขียนก็ขอแนะนำวิธีนี้ไว้ใช้เพื่อผ่อนคลายตัวเองได้ด้วยค่ะ  สำหรับผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่เราได้มาจากเหตุการณ์รอบตัวเรามักจะสามารถจดจำและนำมันไปใช้ได้ดีกว่าการท่องจำอย่างเดียวค่ะ

        เพลงแรก เป็นเพลงของKaty Perry – This Is How We Do
        ในเพลงนี้จะมีสำนวนประมาณว่า “It’s no big deal.” ซึ่งแปลว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย  ก็ชีวิตฉันเป็นแบบนี้ไม่จำเป็นต้องไปทำตามคนอื่นเลย


         ถ้าสนใจเนื้อหาแบบเต็มสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองเลยค่ะ

        เพลงต่อมาก็ขอนำเสนอเพลงที่ชอบของตัวเองเช่นกันค่ะ เป็นเพลงของ Ronan Keating – When You Say Nothing At All  เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างหรือถ้าไม่ก็ลองฟังดูได้นะคะ  โดยส่วนตัวชอบเพลงมากค่ะเพราะทำนองที่ฟังสบายแล้วก็เสียงร้องค่ะที่ทำให้ฟังดูสบาย ๆ รื่นหูไปอีก
        แต่นอกจากท่องทำนองและเนื้อร้องจากเพลงนี้แล้วนั้นก็คือเนื้อหาของเพลงค่ะ เพลงนี้มีเนื้อหาที่ไม่ซับซ้อนสามารถเข้าใจได้โดยง่ายค่ะ  เรามาเริ่มจากชื่อเพลงกันก่อนนะคะ When You Say Nothing At All  จำไว้นะคะว่าภาษาอังกฤษก็คือภาษาอังกฤษอาจมีความคล้ายคลึงกันกับภาษาไทยได้แต่ไม่ทางเหมือนกันไปหมดอย่างแน่นอนค่ะ  ถ้าแปลกันแบบตรงตัวหน่อยอาจได้ว่า เมื่อคุณพูดไม่มีอะไรเลย ก็ดูจะมีความหมายที่เข้าใจได้ในตัวอยู่นะคะเพียงแต่ว่าผู้ส่งสารไม่ได้ต้องการอย่างนั้นค่ะ  และการแปลแบบตรงตัวนี้ก็ไม่สามารถใช้ได้ไปตลอดด้วยนะคะ  ดังนั้นชื่อเพลงเลยอาจมีใจความว่า  เมื่อคุณไม่ได้พูดอะไรเลย แบบนี้ดูน่าจะเหมาะและเพราะกว่าค่ะ 

 
        จุดประสงค์ของการสร้างบล็อกนี้ขึ้นมาก็เพื่อบอกเล่าทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผู้เขียนสังเกตและศึกษาเองนะคะ เพราะฉะนั้นผู้เขียนจะไม่แปลทั้งเพลงแน่ค่ะเพราะสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว  เพียงแต่ผู้เขียนอยากจะแบ่งปันความคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้นค่ะ
        สิ่งที่ผู้เขียนอยากนำเสนอ คือ โครงสร้างภาษา ซึ่งในเพลงนี้ขอเสนอ 2 อย่างที่เข้าใจได้โดยง่ายค่ะ
        อย่างแรกคือการใช้ Say nothing ค่ะ ทำไมถึง say nothing มันคืออะไร พูดแต่พูดว่าไม่มีอะไรเหรอคือถ้าเราเข้าใจและแปลอย่างนี้จะทำให้เนื้อหาข้อมูลผิดพลาดไปได้แน่ค่ะ  การใช้คำแบบนี้เป็นลักษณะเฉพาะที่ถ้าสังเกตดี ๆ ในภาษาอังกฤษจะมีแบบนี้เยอะมากค่ะ  ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้ Verb ตัวไหนค่ะ  อย่างเช่นประโยค I have no money.  เราสามารถแปลได้ว่าฉันไม่มีเงินไปเลยค่ะ ไม่ต้องมาแปลฉันมีไม่เงิน  แบบนี้จะทำให้งงไปกันใหญ่นะคะ  แล้วถ้าเราอยากใช้แค่ I don’t have money. ล่ะ ก็ใช้ได้ค่ะเพราะความหมายก็ในทำนองว่าไม่มีเงินเหมือนกัน  แต่ผู้เขียนคิดว่าแบบที่สองจะเป็นในเชิงตอบปฏิเสธมากกว่าค่ะ อย่างแรกเราใช้เป็นประโยคบอกเล่าในตัวได้เลยค่ะ
         ส่วนอีกอย่างคือคำว่า at all  ค่ะ ซึ่งมีความโดยเข้าใจง่ายว่า เลย  ค่ะ อย่างเช่น I don't it at all. ซึ่งสามารถแปลได้ว่าฉันไม่ชอบมันเอาซะเลย อย่างนี้เป็นต้นค่ะ